พาสาน นครสวรรค์ | ชมแม่น้ำสองสี… จุดกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา

พาสาน (PASAN) สถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์แห่งต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แลนด์มาร์กที่ตั้งตระหง่าน โดดเด่น อยู่บริเวณปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ (Nakhon Sawan) …ตำราในวัยเด็ก ได้สอนให้เรารู้จัก “เจ้าพระยา” แม่น้ำที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของแม่น้ำสายหลัก 4สาย (ปิง วัง ยม น่าน) ที่ผ่านการรวมกันจาก 4 เป็น 2 (ปิง น่าน) และผสานกันอีกครั้งเป็นหนึ่งเดียว คือ “แม่น้ำเจ้าพระยา” ซึ่งจุดนั้นก็คือบริเวณที่ตั้งของสถาปัตยกรรมแห่งนี้ …พาสาน มาจากคำว่า “ผสาน” การรวมตัวกันของแม่น้ำ 4สาย (ปิง วัง ยม น่าน) ที่ผสมผสานวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน จนรวมเป็นหนึ่ง นั้นหมายความว่า ผู้มาเยือนจะได้เห็นต้นกำเหนิดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เกิดจากการผสานกันของสายน้ำสองสี ระหว่างแม่น้ำน่าน กับแม่น้ำปิง ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน!! …กล่าวคือ แม่น้ำน่านจะมีสีค่อนข้างแดง (ขวา) และแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างเขียว (ซ้าย) ดีไซต์ที่สัมผัสได้ถึงเจตนา และความตั้งใจของผู้ออกแบบ… ความพลิ้วไหวของโครงสร้างดั่งสายน้ำ…

สะพานมอญ | ศรัทธา | สายน้ำ | กาลเวลา

สะพานอุตตมานุสรณ์​ หรือสะพานมอญ (Mon Bridge) เป็นสะพานไม้เก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวไทย-มอญ ที่อาศัยอยู่บริเวณสองฝั่งคลอง ศรัทธาแปรเปลี่ยนเป็นสะพานไม้ที่ทอดยาว พาดผ่านแม่น้ำซองกาเลีย (Songkalia River) ดั่งดำริของหลวงพ่ออุตตมะ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน… สะพานแห่งนี้ กลายเป็นมนต์เสน่ห์ของ อ.สังขละบุรี (Sangkhla Buri) จ.กาญจนบุรี (Kanchanaburi) ที่นักท่องเที่ยวต่างอยากมาสัมผัสสะพานแห่งศรัทธานี้ดูสักครั้ง   แสงอาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำ ผู้คนเริ่มเรือนหาย… ร่างกายสัมผัสกับลม และเสียงของสายน้ำ เป็นบรรยากาศที่เหมือนถูกต้องมนต์สะกด   แสงไฟที่สาดลงพื้นไม้ และสายน้ำ ในยามค่ำคืน… พร้อมกับองค์เจดีย์พุทธคยา (Stupa in Bodh Gaya) สีทองอร่าม ทำให้เมืองแห่งนี้สายนี้ไม่หลับไหล   ความเงียบสงบ และดวงดาวบนท้องฟ้า พร้อมกับเบียร์เย็นๆ เป็นบรรยากาศที่ส่งผมเข้านอนในค่ำคืนนี้   ความเหงา มักทำให้เราไม่อยากตื่น… แต่บางครั้ง การตื่นมาพบ มาเจออะไรในสถานที่ใหม่ๆ ก็คงช่วยคลายมันลงไปได้บ้าง   พระอาทิตย์ที่ค่อยๆ ขึ้นจากเส้นขอบฟ้า…